02 192 5281
วันจันทร์ - ศุกร์ 09.00 - 18.00 น.
กำหนดการเดินทาง
16-19 | ก.พ. | 2562 |
15-18 | เม.ย. | 2562 |
13-16 | เม.ย. | 2562 |
17-20 | พ.ค. | 2562 |
นำท่านเดินทางสู่ เมืองธรรมศาลาเมืองเล็กๆ แห่งนี้มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ซึ่งสถานที่นี้เป็นที่ประทับขององค์ดาไลลามะ
08.00 น. คณะพร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศชั้น 4 เคาน์เตอร์ G โดยมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกจัดเตรียมเอกสารการเดินทางและสัมภาระให้กับท่าน
11.10 น. ออกเดินทางสู่ เมืองอัมริตสาร์ โดยสายการบินสไปรท์เจ็ทเที่ยวบินที่ SG90 (ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ 4.30 ชม.) (ไม่มีบริการอาหารบนเครื่อง)
เครื่องBoeing 737-800 (738)
ที่นั่งแบบ 3-3 น้ำหนักสัมภาระ
ขาไป – ขากลับ 20 กก.
14.10น. ถึงท่าอากาศยานนานาชาติศรีคุรุรามทัศชี เมืองอัมริตสาร์ ประเทศอินเดีย และผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร (เวลาท้องถิ่น ช้ากว่าประเทศไทย 01.30 ชั่วโมง)
นำท่านเดินทางสู่ เมืองธรรมศาลา (Dharamshala)หรือแม็คลอร์ดกานจ์ (McLeodGanj) อยู่ในรัฐหิมาจัลประเทศ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย มีอาณาเขตติดกับรัฐจัมมู และแคชเมียร์ รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา รัฐอุตตรประเทศ โดยมีเขตแดนติดกับธิเบต เมืองเล็กๆ แห่งนี้ตั้งอยู่บนสันเขากลางป่าสน มองเห็นยอดเขาหิมาลัยขาวโพลนด้วยหิมะ ด้วยความสูงเฉลี่ยที่ 1,750 ถึง 2,000 เมตร มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ซึ่งสถานที่นี้เป็นที่ประทับขององค์ดาไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวทิเบต ในปี 1959 ดาไลลามะองค์ที่ 14 ได้เดินทางลี้ภัยมายังประเทศอินเดียเนื่องจากปัญหาการเข้ามายึดครองดินแดนทิเบต ยวาล์หลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีของอินเดียในขณะนั้น หลังจากได้เอกราชจากอังกฤษได้จัดให้ที่นี่เป็นเขตปกครองเพื่อผู้ลี้ภัยชาวทิเบต ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการอพยพมาอย่างต่อเนื่อง และยังกระจายออกไปในรัฐต่างๆ อีกหลายแสนคน
ค่ำ รับประทานอาหารค่ำ
ที่พักTriund Hotel หรือเทียบเท่า,เมืองธรรมศาลา
เช้า รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารภายในโรงแรม
นำท่าน เข้าชม วัดนัมเกล (Namgyal Monastery) ที่ประทับของทะไลลามะองค์ที่ 14 ศูนย์รวมจิตวิญญานของชาวทิเบต ที่นับถือพุทธศาสนาแบบวัชรญาณ ในทุกๆวันจะมีผู้ที่มีศรัทธา มากราบอัษฎางคประดิษฐ์อยู่หน้าพระอุโบสถ บ้างก็หมุนกงล้อเวียนทักษิณาวัตรอยู่โดยรอบ และสวดมนต์ และจะมีการจับกลุ่มสนทนาโต้วาทีธรรมเป็นการตั้งปริศนาธรรม รูปหนึ่งยืนถามโดยการปรบมือเสียงดังกระตุ้นให้อีกฝ่ายที่นั่งอยู่ตอบ เป็นการฝึกทบทวนพระธรรมจากนั้นนำท่านชม โบสถ์เซ็นจอห์น(Church of St John in the Wilderness)เป็นโบสถ์คริสต์นิกายAnglicanชาวอังกฤษสร้างอุทิศให้กับนักบุญJohn Baptist สร้างขึ้นในปี 1852 ตั้งอยู่ใกล้เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดียสร้างขึ้นโดยสถาปัตยกรรมแบบนีโอโกธิคหรีอสถาปัตยกรรมวิกตอเรียตัวโบสถ์มีชื่อเสียงจากหน้าต่างกระจกสีจากเบลเยียม โดยได้รับบริจาคจากเลดี้เอลกิน (Mary Louisa Lambton) ซึ่งเป็นภรรยาของLord Elgin ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าแม้ว่าโครงสร้างโบสถ์จะรอดพ้นจากเหตุแผ่นดินไหวที่ Kangraเมื่อปีค.ศ. 1905 มาได้แต่เหตุการณ์นั้นก็ได้คร่าชีวิตผู้คนไป19,800 คนมีผู้บาดเจ็บหลายพันคนในพื้นที่Kangraและได้ทำลายอาคารส่วนใหญ่แทบทั้งหมดของเมืองรวมถึงยอดโดมหอระฆังด้วย ต่อมาในปีค.ศ. 1915 สร้างหอระฆังใหม่ โดยเมียร์สและสแตนแบงก์ถูกนำมาจากประเทศอังกฤษและติดตั้งภายนอกบริเวณโบสถ์ในส่วนของลานโบสถ์นั้นเป็นที่ตั้งของสุสานอดีตข้าหลวงใหญ และเป็นสถานที่พำนักแห่งสุดท้ายของ Lord Elgin แห่งประเทศแคนาดา ผู้ซึ่งสั่งการทำลายพระราชวังฤดูร้อนพระราชวังหยวนหมิงหยวนในจีนและต่อมาในปีค.ศ. 1861ได้รับการแต่งตั้งเป็นอุปราชและข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียทว่าหลังจากนั้น2 ปี ในค.ศ. 1863ก็สิ้นชีวีตและถูกฝังณโบสถ์แห่งนี้
กลางวัน รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย จากนั้นนำท่านชม สถาบันนอร์บูลิงกา (Norbulingka Institute)เป็นสถาบันทิเบตศึกษา ตั้งชื่อตามพระราชวังฤดูร้อนของดาไลลามะในทิเบต นอร์บูลิงกา แปลว่า สวนแห่งอัญมณี ภายในสถาบันมีหลายส่วน ทั้งสำนักสงฆ์, พิพิธภัณฑ์, ร้านค้า, ห้องเรียน, โรงปฏิบัติงานศิลปะ ให้ท่านได้ชม งานศิลปะต่างๆของทิเบต อาทิเช่น งานปะติมากรรมโลหะ, งานแกะสลักไม้, งานเขียนภาพทังก้า และงานปักผ้าทังก้า “ทังก้า” ถือเป็นงานศิลป์ที่มีความสวยงามและเป้นเอกลักษณ์ของชาวทิเบต คือภาพวาด เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า ทังก้า จะเป็นการเขียนบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธองค์ เหมือนจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย แต่เขียนลงบนผ้าแทน ชาวทิเบตไม่มีพระพุทธรูป แต่จะมีทังก้าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ที่สำคัญในการทำแบบโบราณดั้งเดิม สีที่ใช้เขียนเป็นสีธรรมชาติที่ต้องสรรหาแร่ธาตุ ตามเทือกเขาหิมาลัย นำมาบดผสมกับยางไม้ เขียนด้วยเกรียงเขาจามรี ส่วนสีทองก็จะใช้เนื้อทองคำแท้ น้ำที่ใช้ผสมสียังต้องใช้น้ำแร่ผสมกับสีธรรมชาติในการวาด ภาพเขียนแต่ละชิ้นใช้เวลานาน มีความประณีตและทนทาน สีและภาพที่เขียนจะมีความคมชัด สดใสยาวนานกว่าร้อยปีเลยทีเดียวจากนั้นนำท่านเดินทางสู่เมืองอัมริตสาร์ หรือ เมืองอมฤตสาร์ ตั้งอยู่ในรัฐปัญจาบ ซึ่งเป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีเขตติดต่อกับรัฐหิมาจัลประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศปากีสถาน ส่วนทิศใต้ติดกับรัฐราชาสถาน ส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับ รัฐหรยาณา ซึ่งรัฐหรยาณานี้เป็นดินแดนที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของทุ่งกุรุเกษตรในมหาภารตะ รัฐปัญจาบมีเมืองหลวงชื่อจัณฑีครห์ มีประชากร ประมาณ 24 ล้านคน รัฐนี้ยังเป็นศูนย์กลางของชาวซิกข์ รัฐปัญจาบมีการวางผังเมืองที่ดีมากมีการแยกระหว่างเขตที่อยู่อาศัย เขตธุรกิจการค้า เขตอุสาหกรรม กันเป็นอย่างดี เป็นเมืองที่มีมหาวิทลัยที่น่าสนใจ จากนั้นนำท่านชม พระวิหารทองคำ ฮัรมัรดิร ซาฮิบ (Harmandir Sahib)หรือพระสุวรรณวิหาร วิหารทองคำแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ของผู้ที่นับถือศาสนาซิกข์ และบรรดาผู้แสวงบุญจากทั่วโลก ล้วนมุ่งหมายที่จะต้องได้มาสักครั้งในชีวิต ตัววิหารทองคำ ชั้นแรกของวิหารเป็นหินอ่อน ผนังภายในแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ไว้อย่างสวยงาม ชั้นสองขึ้นไปจนถึงยอดโดมได้ถูกตกแต่งโดยการเคลือบด้วยทองคำสีทองอร่ามงดงามมีน้ำหนักรวมกว่า 800 ตัน ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจประจำวัน สำหรับผู้เข้าชมวิหารทุกคนต้องมีผ้าคลุมศีรษะทุกคน
ค่ำ รับประทานอาหารค่ำ
พักที่ Golden Tulip Hotel หรือเทียบเท่า,เมืองอัมริตสาร์
เช้า รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารภายในโรงแรม
นำท่านชม สวนจาลเลียนวาลา (Jallianwala Bagh Memorial) ชมอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึง ผู้ชุมนุมชาวอินเดียจำนวนสองพันกว่าคนที่ถูกสังหารหมู่โดยฝีมือของทหารอังกฤษ เมื่อวันที่ 03 เมษายน 1919 เหตุการณ์ครั้งนั้นได้สร้างความเศร้าโศกเสียใจ และสะเทือนใจชาวอินเดียเป็นอย่างมาก ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นการต่อสู่แบบอหิงสาเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษของ ท่านมหาตมะ คานธี จนเป็นที่สำเร็จได้ในเวลาต่อมา ซึ่งในปัจจุบันยังคงสภาพเป็นสวนสวย สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองอัมริทสาร์แห่งนี้ จากนั้นนำท่านชมวิว วิหารทองคำ ยามเย็นตามอัธยาศัยจากนนั้นนำท่านสู่ วัดศรีเดอร์เกียนาหรือมีอีกชื่อว่าวัดเงิน มากจากประตูทางเข้าวัดทำจากเงิน วัดฮินดูที่งดงามมากโดยจำลองแบบมาจากวิหารทองคำ แต่สิ่งที่โดดเด่นของวัดนี้คือประตูที่ทำจากเงินที่มีการแกะสลักภาพของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู อาทิ พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระฆิศเนศ สิงโตสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจ ตัววิหารหลักล้อมรอบด้วยทะเลสาบ
กลางวัน รับประทานอาหารกลางวัน
บ่าย นำท่านสู่ Wagah Border ด่านพรมแดนระหว่างอินเดียและปากีสถาน นำท่านชม พิธีเปลี่ยนเวรยาม ที่มีการประชันลีลาต่างๆ ของทหารอินเดียและปากีสถาน แข่งขันกันแบบชนิดที่ว่าไม่ยอมน้อยหน้ากันเลยทีเดียว สร้างความสนุกสนานและตื่นตาตื่นใจแก่นักท่องเที่ยวที่ได้มาชมเป็นอย่างมาก
จากนนั้นนำท่านอิสระช้อปปิ้งตลาดพื้นเมือง มีสินค้าพื้นเมืองที่เป็นเอกลัษณ์ขาย เช่น กำไล เสื้อผ้า เครื่องประดับ ผ้าพันคอผ้าพัชมีนาและผ้าปักคลุมศีรษะทุปัฏฏา ผ้าส่าหรี เสื้อเชิ้ตสั่งตัด เน็กไทผ้าไหม ชุดราตรีหรูหรา รวมถึงรองเท้าจัตตีแบบพื้นเมืองของปัญจาบ เครื่องหัตถกรรม และของแต่งบ้านมากมาย
ค่ำ รับประทานอาหารค่ำ
ได้เวลาอันสมควรนำท่านเดินทางสู่ท่าอากาศยานนานาชาติศรีคุรุรามทัศชีเมืองอัมริตสาร์ประเทศอินเดีย
04.00 น. ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ ประเทศไทยโดยสายการบินสไปรท์เจ็ทเที่ยวบินที่ SG89 (ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ 4.40 ชม.) (ไม่มีบริการอาหารบนเครื่อง)
10.10 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานคร โดยความสวัสดิภาพ
รายละเอียด | ราคา (บาท) |
---|---|
อัตราค่าบริการ | ต่อท่าน |
อัตราค่าบริการ | ||||||
กำหนดการเดินทาง | ผู้ใหญ่ พักห้องละ 2-3 ท่าน ท่านละ |
เด็กมีเตียง พักกับผู้ใหญ่ 1 ท่าน ท่านละ |
เด็ก8-12 ปี(เสริมเตียง) ท่านละ |
เด็ก8-12 ปี (ไม่เสริมเตียง) ท่านละ |
พักเดี่ยวเพิ่ม ท่านละ |
ราคา ไม่รวมตั๋ว ท่านละ |
วันที่ :16-19 ก.พ. 62 | 17,888.- | 17,888.- | 17,888.- | 16,888.- | 4,900.- | 9,888.- |
วันที่ :15-18 มี.ค. 62 | 18,888.- | 18,888.- | 18,888.- | 17,888.- | 4,900.- | 10,888.- |
วันที่ :13-16 เม.ย. 62 | 18,888.- | 18,888.- | 18,888.- | 17,888.- | 4,900.- | 10,888.- |
วันที่ :17-20 พ.ค. 62 | 19,888.- | 19,888.- | 19,888.- | 18,888.- | 5,900.- | 10,888.- |
***ราคาเด็กทารก(อายุไม่ถึง 2 ปีบริบูรณ์ณวันเดินทางกลับ) ท่านละ10,000.-*** |
7. ในกรณีที่ลูกค้าต้องออกตั๋วโดยสารภายในประเทศ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ก่อนทุกครั้ง มิฉะนั้นทางบริษัทฯจะไม่ขอรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น